ค่าแรงดันในหลอดเลือดดำขณะยืนอยู่กับที่โดยไม่ได้เคลื่อนไหวร่างกาย |
แรงดันในหลอดเลือดดำขณะยืนอยู่กับที่โดยไม่ได้เคลื่อนไหวร่างกายจะเพิ่มขึ้นดังนี้ - เพิ่ม 80 มม.ปรอท ที่ระดับเท้า - เพิ่ม 40 มม.ปรอท ที่ระดับขาอ่อน ในขณะเดิน กล้ามเนื้อเท้าจะทำงานเหมือนเครื่องสูบน้ำ ซึ่งช่วยดึงเลือดจากหลอดเลือดดำกลับไปสู่หัวใจ ดังนั้นการยืนนาน ๆ อยู่กับที่ไม่เพียงแต่เป็นสาเหตุของความล้าของกล้ามเนื้อเท่านั้น แต่จะทำให้เกิดความรู้สึกไม่สบายซึ่งเป็นผลจากการไหลกลับของเลือดไม่เพียงพอ สภาพการไหลเวียนเลือดที่ไม่เป็นปรกตินั้นเป็นสาเหตุของการสะสมความเจ็บปวดในคนงานที่ต้องทำงานโดยยืนนาน ๆ ซึ่งมีผลนำไปสู่ 1. การขยายตัวของหลอดเลือดดำที่เท้า ( หลอดเลือดขอด ) 2. การบวมของเนื้อเยื่อที่น่องและเท้า ( การบวมน้ำของข้อเท้า ) 3. การเกิดแผลของผิวหนังที่บวมน้ำ โดยสรุปแล้ว งานแต่ละงานก็จะมีกิจกรรมที่แตกต่างกันไป และส่งผลให้เกิดระดับความเค้นที่ต่างกัน ระดับความเค้นทางกายภาพ ( physical stress ) กำหนดได้โดยปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้ - แรงที่ต้องออก ( force ) - ท่าการทำงาน ( posture ) - ลักษณะงานที่ซ้ำซาก ( repetition ) - ระยะเวลาในการทำงาน ( work period ) - สิ่งแวดล้อมในการทำงาน เช่น อุณหภูมิสูงหรือต่ำเกินไป ความสั่นสะเทือน หมายเหตุ : ลักษณะงานที่ซ้ำซาก ( repetitive work ) ในงานอุตสาหกรรมนั้น หมายถึง กิจกรรมใด ๆ ที่มีรอบของการทำงานให้เสร็จ 1 หน่วยในเวลาน้อยกว่าหรือเท่ากับ 2 นาที ซึ่งทำซ้ำ ๆ อยู่เช่นเดิมตลอดกะของการทำงาน สำหรับงานที่ซ้ำซากมาก ( highly repetitive ) จะมีรอบของการทำงานน้อยกว่าหรือเท่ากับ 30 วินาที |
เอกสารอ้างอิง นริศ เจริญพร. การยศาสตร์. กรุงเทพฯ: ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2543. สสิธร เทพตระการพร. เอกสารการอบรมการยศาสตร์. กรุงเทพฯ: บริษัท ริชเทค บิสซิเนส จำกัด, 2546. |