ตัวอย่างการทำงานแบบสถิตที่พบได้บ่อยในอุตสาหกรรมหรืออาชีพทั่วไป
1. งานที่ต้องก้มโค้งไปข้างหน้าหรือด้านข้าง
2. การยกของไว้ในมือ
3. การทำงานที่ต้องยื่นมือไปข้างหน้าตามแนวนอน
4. การยืนด้วยขาข้างเดียว ในขณะที่ขาอีกข้างทำงานควบคุมเครื่องจักร
5. การยืนอยู่กับที่เป็นเวลานาน
6. การดันหรือดึงวัตถุหนัก
7. การเอนศีรษะไปข้างหน้าหรือข้างหลัง
8. การยกไหล่เป็นเวลานาน
รูปที่ 4 ตัวอย่างการออกแรงกล้ามเนื้อแบบหดตัวอยู่กับที่
( ที่มา : Grandjean E. Fitting the task to the man. In: Textbook of occupational ergonomics, 4th ed. London: Taylor & Francis, 1988 )
         การทำงานในท่าทางที่จำกัดก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของงานที่ต้องออกแรงแบบหดตัวอยู่กับที่ สาเหตุหลักก็คือร่างกายจะต้องรับน้ำหนักตัว ศีรษะและแขนขาในท่าทางที่ไม่เป็นธรรมชาติ รูปที่ 4 แสดงตัวอย่างที่ต้องออกแรงแบบหดตัวอยู่กับที่ในลักษณะจำกัดท่าทาง
          การใช้แรงจากกล้ามเนื้อมากเกินไปจะส่งผลกระทบต่อการทำงานของร่างกายดังนี้
     1. การใช้พลังงานที่สูงขึ้น
     2. อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น
     3. ต้องการระยะเวลาในการพักที่ยาวนาน
เอกสารอ้างอิง
นริศ เจริญพร. การยศาสตร์. กรุงเทพฯ: ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2543.