เครื่องมือและอุปกรณ์ควบคุม(3) |
|||
จงแน่ใจว่ามีการดูแลบำรุงรักษาเครื่องมืออย่างเหมาะสม ควรเลือกเครื่องมือที่เหมาะสมกับผู้ปฏิบัติงานที่ถนัดมือขวา หรือมือซ้าย ควรให้สวิตซ์ควบคุม คันโยก และปุ่มควบคุมอยู่ในระยะที่ผู้ควบคุมสามารถเอื้อมถึงได้ง่ายในตำแหน่งที่ยืนหรือนั่งปฏิบัติงานตามปกติ ซึ่งจะเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับงานที่ต้องใช้อุปกรณ์ควบคุมประจำ เลือกอุปกรณ์ควบคุมให้เหมาะกับงานที่ต้องปฏิบัติ เช่น หากเป็นงานละเอียดที่ต้องการความแม่นยำสูงและต้องปฏิบัติอย่างรวดเร็ว ควรเลือกอุปกรณ์ที่ควบคุมด้วยมือ แต่หากเป็นงานที่ต้องออกแรง ควรเลือกอุปกรณ์ที่ควบคุมด้วยเท้า เช่น คันเหยียบ ซึ่งผู้ปฏิบัติงานหนึ่งคนไม่ควรใช้เท้าควบคุมคันเหยียบสองอันหรือมากกว่า ควรออกแบบให้ผู้ปฏิบัติงานใช้อุปกรณ์ควบคุมด้วยมือทั้งสองข้าง อุปกรณ์ควบคุมแบบไกปืน ( Trigger ) ควรเป็นแบบที่สามารถควบคุมอุปกรณ์ได้ด้วยนิ้วหลายนิ้ว ไม่ใช่ใช้นิ้วควบคุมเพียงนิ้วเดียว สิ่งสำคัญสำหรับอุปกรณ์ควบคุมในกรณีที่มีเหตุการณ์ฉุกเฉินเกิดขึ้นก็คือ จะต้องให้อุปกรณ์ดังกล่าวมีความแตกต่างอย่างชัดเจนกับอุปกรณ์ควบคุมอื่น ๆ ที่ใช้งานอยู่เป็นประจำ ซึ่งความแตกต่างนี้อาจได้แก่ ให้มีรูปร่างลักษณะและสีที่แตกต่างกัน มีการติดฉลากให้เห็นชัดเจน เป็นต้น มีการออกแบบอุปกรณ์ควบคุมเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุโดยไม่ได้ตั้งใจ ซึ่งอาจทำได้โดยจัดให้มีช่องว่างที่เหมาะสม มีระยะห่างและมีการปิดกั้นอย่างเพียงพอ สิ่งสำคัญก็คือวิธีการใช้อุปกรณ์ควบคุมต้องเข้าใจได้ง่าย โดยสามารถใช้สามัญสำนึกซึ่งอาจแตกต่างกันในแต่ละประเทศ และควรที่จะนำความแตกต่างนี้มาพิจารณาด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุปกรณ์ควบคุมที่สั่งซื้อเข้ามาจากต่างประเทศ |
|||
เอกสารอ้างอิง รัตนาภรณ์ อมรรัตนไพจิตร และสุดธิดา กรุงไกรวงศ์. การยศาสตร์ในสถานที่ทำงาน. กรุงเทพฯ : บริษัท เรียงสาม กราฟฟิค ดีไซน์ จำกัด, 2544. |