หน่วยที่ทำงาน |
|
หน่วยที่ทำงาน
หมายถึง สถานที่ซึ่งพนักงานจะต้องอยู่ปฏิบัติงานนั้น ๆ หน่วยที่ทำงานอาจเป็นสถานที่ซึ่งพนักงานอยู่ปฏิบัติงานนั้น
ๆ ตลอดทั้งวัน หรืออาจเป็นส่วนหนึ่งของหลาย ๆ ส่วนของสถานที่ซึ่งพนักงานปฏิบัติงาน
ตัวอย่างของหน่วยที่ทำงาน ได้แก่ พื้นซึ่งพนักงานต้องยืนปฏิบัติงาน หรือโต๊ะงานสำหรับการปฏิบัติงานกับเครื่องจักร
การผลิตหรือการตรวจสอบ โต๊ะงานสำหรับการปฏิบัติงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์ ตู้ควบคุม
ฯลฯ การออกแบบหน่วยที่ทำงานเป็นอย่างดี จะเป็นสิ่งสำคัญในการป้องกันมิให้เกิดโรคที่เกี่ยวเนื่องจากการทำงานในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม รวมทั้งเพื่อให้แน่ใจว่างานที่ปฏิบัตินั้นเป็นงานที่มีประสิทธิภาพ หน่วยที่ทำงานทุกแห่ง ควรได้รับการออกแบบเพื่อให้ทั้งพนักงานและงานที่ปฏิบัติมีความเหมาะสม ซึ่งจะทำให้พนักงานสามารถปฏิบัติงานได้ด้วยความสะดวกสบาย ราบรื่น และมีประสิทธิภาพ ถ้าหากได้มีการออกแบบหน่วยที่ทำงานเป็นอย่างดี จะทำให้พนักงานสามารถปฏิบัติงานได้ด้วยอิริยาบถท่าทางการทำงานที่ถูกต้องและสะดวกสบาย ซึ่งเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ เนื่องจากอิริยาบถท่าทางการทำงานที่ไม่สะดวกสบาย สามารถก่อให้เกิดปัญหามากมายตามมา เช่น อาการปวดหลัง การบาดเจ็บ การเกร็งของกล้ามเนื้อที่เกิดจากการทำงานซ้ำซาก ( RSIs ) ที่มีอาการหนักขึ้น ปัญหาการไหลเวียนของโลหิตที่บริเวณขา สาเหตุของปัญหาส่วนใหญ่ ได้แก่ การออกแบบที่นั่งไม่เหมาะสม การยืนทำงานเป็นเวลานาน การทำงานที่ต้องเอื้อมไกลเกินไป แสงสว่างที่ไม่เพียงพอ ทำให้พนักงานต้องเข้าใกล้ชิ้นงานมากเกินไป ตัวอย่างของหลักการพื้นฐานทางการยศาสตร์บางประการในเรื่องการออกแบบหน่วยที่ทำงาน โดยการใช้กฎทั่วไปของนิ้วหัวแม่มือ ซึ่งได้แก่การพิจารณาข้อมูลเกี่ยวกับขนาดของร่างกาย เช่น ส่วนสูง เมื่อมีการเลือกและปรับเปลี่ยนหน่วยที่ทำงาน สิ่งที่สำคัญที่สุดคือจะต้องปรับเปลี่ยนเพื่อให้พนักงานเกิดความสะดวกสบายในการทำงาน
ให้มีเนื้อที่ว่างมากพอสำหรับพนักงานที่สูงที่สุดที่มีอยู่ ควรจัดวางหน้าปัดจอแสดงภาพให้อยู่ในระดับเดียวกันกับระดับสายตาหรือต่ำกว่า เนื่องจากปกติคนทั่วไปจะมองในลักษณะมองลงเล็กน้อย ความสูงของไหล่ ควรจัดวางอุปกรณ์ควบคุม ให้อยู่ในระดับความสูงระหว่างไห่ลและเอว หลีกเลี่ยงการจัดวางสิ่งของหรืออุปกรณ์ควบคุมที่ใช้งานบ่อยให้อยู่สูงเกินกว่าระดับไหล่ ระยะวงแขน ควรจัดวางสิ่งของในระยะวงแขนที่สั้นที่สุด เพื่อหลีกเลี่ยงการที่ต้องเอื้อมไกลสุดแขน ควรจัดวางสิ่งของให้เหมาะสมต่อความจำเป็นในการใช้งาน เพื่อให้พนักงานที่สูงที่สุดไม่ต้องก้มโน้มตัวเพื่อหยิบชิ้นงาน ควรจัดวางวัสดุสิ่งของและเครื่องมือที่ใช้งานบ่อยให้อยู่ใกล้ตัวและด้านหน้าของลำตัว ความสูงของข้อศอก ควรปรับระดับความสูงของพื้นหน้างาน เพื่อให้งานส่วนใหญ่ที่ปฏิบัติอยู่ในระดับเดียวกับความสูงของข้อศอกหรือต่ำกว่าความสูงของข้อศอกเล็กน้อย ความสูงของมือ จงแน่ใจว่าสิ่งของที่จะต้องยกเคลื่อนย้าย อยู่ในระดับความสูงระหว่างมือและไหล่ ความยาวของขา ควรปรับระดับความสูงของเก้าอี้ให้เหมาะสมกับความยาวของขา และความสูงของพื้นหน้างาน ควรจัดให้มีเนื้อที่ว่างเพื่อให้สามารถยืดขาได้ โดยให้มีเนื้อที่ว่างมากพอสำหรับคนขายาว ควรจัดให้มีที่ว่างพักเท้าที่สามารถปรับได้เพื่อขาจะได้ไม่ห้อยและยังช่วยให้พนักงานสามารถเปลี่ยนอิริยาบถท่าทางของร่างกายได้ ขนาดของมือ ควรให้มีด้ามจับของเครื่องมือกระชับเหมาะกับมือ โดยด้ามจับขนาดเล็กจะเหมาะสำหรับคนที่มีมือขนาดเล็ก ส่วนด้ามจับขนาดใหญ่จะเหมาะสำหรับคนที่มีมือขนาดใหญ่ ควรจัดให้มีเนื้อที่ว่างมากพอสำหรับคนที่มีมือขนาดใหญ่ที่สุด ขนาดของร่างกาย ควรจัดหน่วยที่ทำงานให้มีเนื้อที่ว่างมากพอสำหรับคนที่มีรูปร่างใหญ่ที่สุด |
|
เอกสารอ้างอิง รัตนาภรณ์ อมรรัตนไพจิตร และสุดธิดา กรุงไกรวงศ์. การยศาสตร์ในสถานที่ทำงาน. กรุงเทพฯ : บริษัท เรียงสาม กราฟฟิค ดีไซน์ จำกัด, 2544. |