เครื่องมือและอุปกรณ์ควบคุม(1) |
||||
เครื่องมือที่ใช้งาน
ควรเป็นเครื่องมือที่ออกแบบตามหลักการยศาสตร์ เครื่องมือที่ออกแบบไม่ดี หรือเป็นเครื่องมือหรืองานที่ไม่ได้ออกแบบให้มีความเหมาะสมสำหรับผู้ปฏิบัติงานแต่ละคน
อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของผู้ปฏิบัติงาน และลดปริมาณผลผลิตของผู้ปฏิบัติงานได้
ดังนั้น ในการป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นต่อสุขภาพอนามัย รวมทั้งคงไว้ซึ่งปริมาณของผลผลิต
จึงควรออกแบบเครื่องมือเพื่อให้เหมาะสมต่อทั้งผู้ปฏิบัติงานแต่ละคนและงานที่ต้องปฏิบัติ
เครื่องมือที่ได้รับการออกแบบเป็นอย่างดี จะช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานมีอิริยาบถท่าทางการทำงานและการเคลื่อนไหวที่ดี
และสามารถนำไปสู่การเพิ่มผลผลิตได้ ข้อแนะนำในการเลือกใช้เครื่องมือที่ดีมีดังนี้ หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องมือที่มีคุณภาพไม่ดี เลือกใช้เครื่องมือที่ผู้ปฏิบัติงานสามารถใช้กำลังกล้ามเนื้อมัดใหญ่บริเวณไหล่ แขน และขา มากกว่าการใช้กำลังกล้ามเนื้อมัดเล็กบริเวณข้อมือ และนิ้วมือ หลีกเลี่ยงท่าทางการยกถือเครื่องมือเป็นระยะเวลานาน หรือต้องออกแรงมากในการบีบเครื่องมือ เครื่องมือที่ได้รับการออกแบบอย่างเหมาะสม ขณะที่ใช้เครื่องมือ ข้อศอกของผู้ปฏิบัติงานจะต้องอยู่ข้างลำตัว ซึ่งเป็นการป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับไหล่และแขน นอกจากนี้ ยังทำให้ผู้ปฏิบัติงานไม่ต้องบิดงอข้อมือ ก้ม หรือบิดเอี้ยวตัว
|
||||
เอกสารอ้างอิง รัตนาภรณ์ อมรรัตนไพจิตร และสุดธิดา กรุงไกรวงศ์. การยศาสตร์ในสถานที่ทำงาน. กรุงเทพฯ : บริษัท เรียงสาม กราฟฟิค ดีไซน์ จำกัด, 2544. |